In search for survival we confront our possible futures through the eyes and vision of artists and creative thinkers whose art and action will offer us hope and desire for a better humankind and caring for the earth.
In the grave new world that we live in, cracks are appearing everywhere. Trade wars, cyberattacks, waves of migration, unresolved territorial disputes, racism, genocide and terrorism are incredibly disruptive. All is not well in Europe and America and not much optimism in the Middle East, South America, Asia and Africa for that matter. With China’s Road and Belt expansion and US go-it-alone approach of “Let’s make America great again,” the world awaits inevitable collision. Graham Allison’s book Destined for War: Can America and China Escape Thucydides’s Trap? unravels doom and gloom in the near future.
Our dream of utopia is running on empty. The fantasy paradise in the Land of Plenty where wine, milk and honey flowed as people partied, sunbathed and slept around, an escape from earthly suffering, has turned bitter and sour. Yet, technology has developed miraculously to the point that miracles seem normal. We obtain super abilities to transform our own bodies beyond recognition through plastic surgery and augmented reality. We move and communicate across distances with high speed; escape old age and extend life expectancy through nanotechnology and stem cells. The quest for immortality, eternal happiness and superhuman powers often make us forget how miniscule we are on this planet.
Trapped together in our own mess, we blame one another and search for a way out. Inescapably entwined we are entangled with others even when we cannot track or directly perceive this entanglement. Culture of fear has driven us to be afraid of our enemies who were once our friends, relatives and neighbors. However, we face a much more serious danger and threat due to drastic climate change and earth warming that is moving closer to the brink of a broad disaster.
For Bangkok Art Biennale 2020 to be held in Bangkok, one of the world’s leading creative cities, the theme is “Escape Routes.” Based on our current predicament it is an attempt to understand and search for ways out of this cataclysm. Driven by propaganda and paranoia we are constantly bombarded by pessimistic and depressing news. In one way or another we attempt to find a solution but the labyrinthian paths are full of obstacles.
In search for survival we confront our possible futures
through the eyes and vision of artists and creative thinkers
whose art and action will offer us hope and desire for a
better humankind and caring for the earth. The artists will
be invited to find escape routes by reflecting on issues
such as environmental detriment, pollution, social malaise,
gender, diaspora, inclusivity and political differences.
Moreover, they will offer art practice as mind escapism
where meditation, contemplation, ritualism, healing and
performance become the essence of hope and optimism.
การใช้ชีวิตบนโลกที่เต็มไปด้วยรอยร้าวที่ปรากฏขึ้นในทุกพื้นที่ ในทุกวัน สงครามการค้า การโจมตีทางไซเบอร์ คลื่นผู้อพยพ ข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นแบ่งดินแดน ปัญหาเชื้อชาติ การอพยพ การก่อความไม่สงบ และการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน คนนับล้าน บนโลกนี้ตื่นมาโดยพบว่าตนเอง ติดอยู่ใน สถานการณ์ที่ไร้ทางออกความสุข ความสนุกสนาน หาได้ไม่ง่ายนักสงครามการค้าของสองมหาอำนาจอย่าง โครงการ Belt and Road Initiatives (BRI) หรือเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 เป็นยุทธศาสตร์หลักในการเดินหน้าเปิดประเทศและขยายอิทธิพลของจีน ในขณะที่ สหรัฐอเมริกาก็เดินบนเส้นทางขนาน ในการประกาศนโยบาย “Let’s make America great again”ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้โลกตกอยู่ในสภาวะรอการปะทะกันของสองมหาอำนาจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเช่นหนังสือของศาสตราจารย์ กราแฮม อลิสัน ชื่อ Destined for War : Can America and China Escape Thucydides’s Trap ? (พ.ศ.2560) ที่ได้เปิดประเด็น ความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยใช้การเปรียบเทียบจีนและสหรัฐอเมริกา กำลังตกอยู่ภายใต้กับดัก โดยอ้างอิง ทฤษฎีของ “ทูสิดีดิส” เกี่ยวกับสงคราม สปาร์ตา กับ เอเธนส์ เมื่อ 2500 ปีก่อน
ความฝันที่มนุษย์ อยากอาศัยในโลกแห่งอุดมคติ หรือ ยูโธเปีย ดูจะเคว้งคว้างว่างเปล่า สวรรค์ที่แสนสุข ดินแดนที่เต็มไปด้วย อาหารการกิน ให้ผู้คนได้ พักผ่อนหย่อนใจ อยู่กินอย่างมีความสุข เฉลิมฉลอง ราวกับว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลอีกแล้ว แทนที่จะเป็นเช่นนั้นโลกความจริงกลับหวานอมขมกลืน แม้เทคโนโลยีจะล้ำสมัยเนรมิตอะไรก็ได้ จนมาถึงจุดที่เรื่องมหัศจรรย์ กลับกลายเป็น สิ่งธรรมดาไปแล้ว ปัจจุบัน มนุษย์มีความสามารถพิเศษมากมาย เราเดินทาง ติดต่อสื่อสารในระยะไกลได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบสัญญาณไร้สายความเร็วสูงมนุษย์และเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนโฉมรูปร่าง หน้าตา ของตนเองไปชนิดที่จดจำหน้าเดิมไม่ได้ โดยใช้การศัลยกรรมพลาสติกเข้าช่วย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีผสมผสานโลกเสมือนจริง (Artificial Intelligence) เราสามารถยืดเวลาแห่งความหนุ่มสาว หลีกหนีความแก่ชราและยืดอายุขัยให้ยืนยาวด้วยนาโนเทคโนโลยีและสเต็มเซลล์ การดิ้นรนแสวงหาความเป็นอมตะ ความสุขแบบไม่มีที่สิ้นสุด และพลังเหนือธรรมชาติของมนุษย์บ่อยครั้งก็ทำให้เราหลงลืมความจริงที่ว่าเราเองเป็นเพียงสิ่งมีชีวิต หน่วยที่เล็กมากๆบนโลกใบนี้เท่านั้น
ดูเหมือนเรากำลังติดอยู่ในกับดักอันยุ่งเหยิงที่เราเองร่วมกันสร้างขึ้น แต่เรากลับโทษผู้อื่นเพื่อให้เรารู้สึกดี และพยายามหาทางออกกันแบบตัวใครตัวมันแต่ความเป็นจริงเราได้เข้าไปพัวพันกับความยุ่งเหยิงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าเราจะไม่สามารถมองเห็นหรือรับรู้ถึงที่มาที่ไปและต้นสาย ปลายเหตุ ของ เหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ตาม รู้ตัวอีกทีก็อยู่ท่ามกลางสถานการณ์นั้นไปซะแล้ว วัฒนธรรมแห่งความหวาดวิตกถือกำเนิดขึ้น นี่คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เพื่อนสนิท เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่คนในครอบครัวของเรากลายเป็นศัตรูไปได้ แต่เหนือกว่าความขัดแย้งในระดับบุคคลเรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่ใหญ่และอันตรายยิ่งกว่านั้นคือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว ภาวะโลกร้อนที่เดิมเป็นเรื่องไกลตัว ได้เคลื่อนเข้ามาใกล้เราทุกทีราวกับนับถอยหลังสู่สภาวะแห่งภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อที่มาถึงแล้ว เช่น ในรูปแบบของ อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า คลื่นความร้อน สึนามิ แผ่นดินไหว ฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงโรคระบาด และ การเจ็บป่วยที่กัดกร่อนทำลายมนุษย์ทั่วทั้งโลก
ในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ที่จะเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้มีแนวคิดหลักคือ 'ศิลป์สร้าง ทางสุข' มีที่มาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในปัจจุบันที่กำลังรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน มาร่วมกันทำความเข้าใจ และ ปรับตัวให้อยู่รอดได้ในวังวน ที่ไม่น่ารื่นรมย์เหล่านี้ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ พยายามที่จะใช้ศิลปะช่วยในการนำพาออกจากเขาวงกตที่เต็มไปด้วยอุปสรรค โดยที่ศิลปินจากนานาชาติจะได้รับเชิญมาหาทางออก จากปัญหาที่แตกต่างหลากหลายทั้ง สิ่งแวดล้อม มลภาวะ ความป่วยไข้ทางสังคม การพลัดถิ่นความเหลื่อมล้ำและแตกต่างทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ใช่แค่มาชม แต่คุณจะได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ เพราะ ศิลปินจะนำเสนอ การฝึกฝนทางศิลปะเพื่อเยียวยาจิตใจ พาเราหลบหนีออกจากความไม่สงบแม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง ที่ซึ่งการทำสมาธิ พิธีกรรมการรักษาเยียวยา และการแสดงสด ก่อเกิดความหวัง ส่งต่อพลังบวกที่จะกลายเป็นแก่นแท้ของความสุขที่พอเพียงอย่างยั่งยืน