Martha Atienza

มาร์ธา เอเทียนซา

Philippines

Martha Atienza
b. 1981, Manila, the Philippines
Lives and works in Bantayan Island, the Philippines and in Rotterdam, the Netherlands

Martha Atienza has been known to produce works that not only represent but also serve to empower her community, using video as a tool for ongoing engagement, exchange and dialogue. She tends to work collaboratively with people from different backgrounds and expertise especially with residents of Bantayan Island, where her family is from, whose narratives are intricately woven into issues such as environmental change, displacement, cultural loss, governance and socio-economic disparities. While her video works present an almost sociological study of her immediate environment, she also often uses technology in the form of mechanical systems to explore the immersive capacity of installation in generating critical discourse on pressing issues of environment, community and development.

Since 2010, Atienza has been documenting the Ati-Atihan, one of Philippine’s oldest festivals. It is an annual procession of men donned in elaborate and often humorous costumes, which they created themselves and differs every year in response to current events. Accompanied by music and dance, Ati-Atihan has become an annual display of victories and disasters, dreams and protests. Atienza’s video installation, Our Islands 11°16'58.4"N 123°45'07.0"E (2017), through re-creating the festival as an underwater parade, is both a critical and humorous take on the state of society in Philippines. Projected life-sized on glass, the work immerses the viewer in a mesmerising experience. Yet a sense of alienation sets in while one watches the procession move by in silence, drowned by the sea. The differing ways in which the parading men grapple with the state of submersion—some drift by elegantly while others struggle forward, trampling on dying corals—allude to issues of labour and migration as well as draw the viewer’s attention to the threats of climate change. - OPK

show more

มาร์ธา เอเทียนซา
เกิด พ.ศ. 2524 มะนิลา ฟิลิปปินส์
อาศัยและทำงานอยู่ที่ เกาะบันตายัน ฟิลิปปินส์ และ ร็อตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์


มาร์ธา เอเทียนซา เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากผลงานที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนชุมชนของเธอ หากแต่ยังช่วยเสริมสร้างพลังให้กับชุมชนของเธอ ด้วยการใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนและสนทนาที่ต่อเนื่อง เธอมักจะทำงานร่วมกับผู้คนที่มีภูมิหลังและความเชี่ยวชาญหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้อาศัยอยู่บนเกาะบันตายัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของครอบครัวเธอและมีเรื่องเล่าเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม การพลัดถิ่น การสูญเสียทางวัฒนธรรม ความไม่เสมอภาคทางการเมืองการปกครองและทางเศรษฐกิจและสังคม แม้ผลงานวิดีโอของเธอจะนำเสนอออกมาในรูปแบบกึ่งการศึกษาทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของเธอ แต่เธอก็มักใช้เทคโนโลยีระบบกลไกสำรวจขีดความสามารถของศิลปะจัดวางฉายวิดีโอในการสร้างวาทกรรมเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับปัญหาเร่งด่วนด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนและการพัฒนา ให้ออกมามีความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงกับโลกเสมือนจริง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา มาร์ธาได้บันทึกเกี่ยวกับเทศกาลอาติ-อาติหาน (Ati-Atihan) หนึ่งในเทศกาลประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ ขบวนแห่ในเทศกาลจะประกอบด้วยผู้ชายสวมเครื่องแต่งกายสุดแสนประณีตและมักแฝงด้วยอารมณ์ขันเต้นรำประกอบดนตรี โดยพวกเขาเป็นคนทำเครื่องแต่งกายเหล่านี้ขึ้นมาเองและทุกปีจะทำออกมาให้แตกต่างกันไปตามเหตุการณ์ในขณะนั้น เทศกาลอาติ-อาติหานได้กลายเป็นการแสดงความฝัน การต่อต้านและชัยชนะ เหนือภัยพิบัติประจำปี ศิลปะจัดวางฉายวิดีโอของเธอภายใต้ชื่อ Our Islands 11°16'58.4"N 123°45'07.0"E  ในปี พ.ศ. 2560 ที่ตีความเทศกาลใหม่และสร้างออกมาในรูปแบบขบวนพาเหรดใต้น้ำ ถือเป็นมุมมองเชิงวิพากษ์และเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขันต่อสภาพสังคมในประเทศฟิลิปปินส์ ผลงานที่เกิดจากการฉายภาพขนาดเท่าจริงบนกระจกให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำไปกับประสบการณ์อันน่าหลงใหล แต่ในขณะเดียวกันความรู้สึกแปลกแยกก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในใจผู้ชมขณะดูขบวนพาเหรดเคลื่อนที่ผ่านไปอย่างเงียบๆ และจมหายไปในทะเล ผู้ชายในขบวนพาเหรดต่างดิ้นรนไม่ให้จมน้ำด้วยวิธีแตกต่างกันไป บางคนลอยน้ำไปมาอย่างสง่างามในขณะที่บางคนฝ่าน้ำไปข้างหน้า เหยียบย่ำปะการังที่กำลังจะตาย ซึ่งบ่งบอกถึงปัญหาการใช้แรงงานและการอพยพ ตลอดจนดึงดูดความสนใจของผู้ชมต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

show more
Artwork

Related