Irwan Ahmett and Tita Salina

อีร์วัน อะห์เมตต์ และ ติตา ซาลินา

Indonesia

Irwan Ahmett and Tita Salina est. 2010, Jakarta, Indonesia Irwan Ahmett and Tita Salina are Jakarta based self-taught artists. They studied Graphic Design at Jakarta Institute of Arts, and their initial works focused on issues regarding urban public space. As vagabond cosmopolitans, not only did they participate in artist-in-residence programs all over the world, be it in Japan, New Zealand, The Netherlands, Poland or Indonesia, but they also participated in biennials and series of projects and exhibitions held in Singapore, Taiwan, Indonesia, Thailand, Australia, US, Japan, and European countries. They utilize their high mobility as the primary vehicle in their art practice. In 1001st Island: The most sustainable island in archipelago (2015-16), presented in BAB 2020, Tita Salina and local fishermen created an artificial floating island made of marine debris and litter. Salina’s lone figure on the raft/island defies land reclamation that causes waste and pollution in the ocean. In addition, Tita Salina and Irwan Ahmett trace the migratory maritime routes of sea gypsies and sea refugees in the Andaman Seas. Stereotyped as illegal and undesirable, ethnic groups of Morken, Morgan and Urak Lavoy, whose ancestors have lived on maritime routes for centuries, have long been abused and marginalized. Through their works, Ahmett and Salina reflect the struggle of these people. When eventually the rising sea levels engulf sinking cities like Jakarta, Bangkok, Manila, Singapore, Dhaka, and Tokyo, the sea gypsies guided by ancestral spirits will be the ones who survive.

show more

อีร์วัน อะห์เมตต์ และ ติตา ซาลินา ก่อตั้ง พ.ศ. 2553, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย เริ่มทำงานร่วมกัน พ.ศ. 2553 จาการ์ตา อินโดนีเซีย

อีร์วัน อะห์เมตต์ และ ติตา ซาลินา เป็นศิลปินจากกรุงจาการ์ตา พวกเขาศึกษาการออกแบบกราฟิกที่สถาบันศิลปะแห่งจาการ์ตา (Jakarta Institute of Arts) ผลงานในช่วงแรกของพวกเขามุ่งเน้นไปที่ประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในเมือง ในฐานะคนที่เดินทางไปรอบโลก พวกเขาได้เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักที่จัดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์และอินโดนีเซีย และยังได้เข้าร่วมงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติเบียนนาเล่ ตลอดจนโครงการและนิทรรศการในประเทศต่างๆ อย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป พวกเขาใช้ความคล่องตัวสูงของพวกเขาเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ในผลงาน 1001st Island: The most sustainable island in archipelago หรือ เกาะที่หนึ่งพันหนึ่ง: เกาะที่ยั่งยืนที่สุดในหมู่เกาะ ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2558-2559 ซึ่งจะจัดแสดงในงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 นั้น ติตาและชาวประมงในท้องถิ่นได้สร้างเกาะลอยน้ำเทียมจากเศษขยะในทะเล รูปปั้นเดี่ยวบนบนแพ/เกาะของเธอมีเป้าประสงค์แสดงออกถึงการต่อต้านการถมทะเลที่ก่อให้เกิดขยะและมลพิษในมหาสมุทร นอกจากนี้ทั้งสองยังติดตามเส้นทางการเดินเรืออพยพของชาวเลและผู้ลี้ภัยทางทะเลในทะเลอันดามัน กลุ่มชาติพันธุ์มอร์เกน มอร์แกนและอูรักลาวอยที่บรรพบุรุษใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนเส้นทางเดินเรือมานานหลายศตวรรษ ถูกเหมารวมว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับและไม่เป็นที่ต้องการ ถูกทารุณกรรมและทำให้เป็นชายขอบมาอย่างยาวนาน ผลงานของพวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ของคนเหล่านี้ เมื่อในที่สุดระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นได้เข้าท่วมเมืองต่างๆ อย่างเช่น จาการ์ตา กรุงเทพฯ มะนิลา สิงคโปร์ ธากาและโตเกียว ชาวเลที่ได้รับการชี้นำจากวิญญาณบรรพบุรุษจะเป็นผู้ที่อยู่รอด

show more
Artwork

Related