In 1001st Island: The most sustainable island in archipelago (2015-16), presented in BAB 2020, Tita Salina and local fishermen created an artificial floating island made of marine debris and litter. Salina’s lone figure on the raft/island defies land reclamation that causes waste and pollution in the ocean. In addition, Tita Salina and Irwan Ahmett trace the migratory maritime routes of sea gypsies and sea refugees in the Andaman Seas. Stereotyped as illegal and undesirable, ethnic groups of Morken, Morgan and Urak Lavoy, whose ancestors have lived on maritime routes for centuries, have long been abused and marginalized. Through their works, Ahmett and Salina reflect the struggle of these people. When eventually the rising sea levels engulf sinking cities like Jakarta, Bangkok, Manila, Singapore, Dhaka, and Tokyo, the sea gypsies guided by ancestral spirits will be the ones who survive.
ในผลงาน 1001st Island: The most sustainable island in archipelago หรือ เกาะที่หนึ่งพันหนึ่ง: เกาะที่ยั่งยืนที่สุดในหมู่เกาะ ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2558-2559 ซึ่งจะจัดแสดงในงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 นั้น ติตาและชาวประมงในท้องถิ่นได้สร้างเกาะลอยน้ำเทียมจากเศษขยะในทะเล รูปปั้นเดี่ยวบนบนแพ/เกาะของเธอมีเป้าประสงค์แสดงออกถึงการต่อต้านการถมทะเลที่ก่อให้เกิดขยะและมลพิษในมหาสมุทร นอกจากนี้ทั้งสองยังติดตามเส้นทางการเดินเรืออพยพของชาวเลและผู้ลี้ภัยทางทะเลในทะเลอันดามัน กลุ่มชาติพันธุ์มอร์เกน มอร์แกนและอูรักลาวอยที่บรรพบุรุษใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนเส้นทางเดินเรือมานานหลายศตวรรษ ถูกเหมารวมว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับและไม่เป็นที่ต้องการ ถูกทารุณกรรมและทำให้เป็นชายขอบมาอย่างยาวนาน ผลงานของพวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ของคนเหล่านี้ เมื่อในที่สุดระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นได้เข้าท่วมเมืองต่างๆ อย่างเช่น จาการ์ตา กรุงเทพฯ มะนิลา สิงคโปร์ ธากาและโตเกียว ชาวเลที่ได้รับการชี้นำจากวิญญาณบรรพบุรุษจะเป็นผู้ที่อยู่รอด