Leandro Erlich

ลีอันโดร เออร์ลีช

Argentina

Leandro Erlich
b. 1973, Buenos Aires, Argentina
Lives and works in Buenos Aires, Argentina and Montevideo, Uruguay

Argentinian conceptual artist Leandro Erlich’s multi-disciplinary work functions upon suspending our reality in order to question what is real and what we believe. Over the past two decades Erlich has produced work that explores the perceptual bases of reality and our capacity to interrogate the same foundations through a visual framework. Recurring theme of his works is the architecture of everyday life that attempts to reduce the distance between museums or galleries and our daily experience. Over the past two decades, Erlich’s work has been shown internationally and featured in various museums, private exhibitions and biennales, including Whitney Biennale and Venice Biennale in 2011.

For BAB 2020 Erlich presents a new work, Class Room (2020), a complex interactive installation of a classroom in semi darkness that looks into the adjacent room through the two-way mirror. Viewers see their own reflections momentarily trapped in their mirror image. Erlich plays with illusion that triggers memories and time warp of youth and adolescence. Passing through the threshold, the viewers venture into the abandoned classroom containing decrepit desks, chairs and blackboard. Reciprocating with time, the classroom is reverted to the past or forecast into the future. Either way, the exit from Erlich’s classroom leads us back to grim reality. Appropriately, this installation reminds us of the troubled world as children and parents are coping at the time of COVID-19.

show more

ลีอันโดร เออร์ลีช
เกิด พ.ศ 2516, บัวโนสไอเรส, อาร์เจนตินา
อาศัยและทำงานอยู่ที่ บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา และ มอนเตวิเดโอ อุรุกวัย

ผลงานสหสาขาของ ลีอันโดร เออร์ลีช ศิลปินแนวคอนเซ็ปชวลอาร์ตชาวอาร์เจนตินา สร้างสรรค์ออกมาให้คนหยุดเชื่อว่าจริงและหันมาตั้งคำถามก่อนว่าอะไรคือความจริงและอะไรคือสิ่งที่เราเชื่อ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเขาได้ผลิตผลงานที่สำรวจรากฐานการรับรู้ความเป็นจริง และความสามารถในการซักถามรากฐานเหล่านี้ของคนผ่านกรอบทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรมในชีวิตประจำวันเป็นธีมหลักที่ปรากฏบ่อยในผลงานของเขา เช่นเดียวกับการสร้างบทสนทนาระหว่างสิ่งที่เราเชื่อและสิ่งที่เราเห็น และการพยายามปิดช่องว่างระหว่างพื้นที่จัดแสดงผลงานอย่างพิพิธภัณฑ์หรือแกลเลอรีกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผลงานของเขาได้จัดแสดงในงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติเบียนนาเล่ ตลอดจนพิพิธภัณฑ์และคอลเล็คชันส่วนตัวสำคัญๆ หลายแห่งทั่วโลก ตั้งแต่งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติวิทนีย์ เบียนนาเล่ จนถึงงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติเวนิส เบียนนาเล่ในปี พ.ศ. 2544

สำหรับงานบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ ลีอันโดรจะนำเสนอผลงานชิ้นใหม่ภายใต้ชื่อ Class Room ผลงานศิลปะจัดวางอินเตอร์แอคทีฟในรูปแบบห้องเรียนกึ่งมืดที่เล่นกับภาพลวงตาที่กระตุ้นความทรงจำและช่วงเวลาที่แปรปรวนของวัยหนุ่มสาว โดยจะให้ผู้ชมมองผ่านกระจกสองทางเข้าไปในห้องที่อยู่ติดกัน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพสะท้อนของตนเองติดอยู่ในภาพสะท้อนในกระจกชั่วขณะหนึ่ง เมื่อก้าวผ่านประตูเข้ามา ผู้ชมจะพบกับห้องเรียนที่ถูกทิ้งร้าง ภายในมีโต๊ะ เก้าอี้และกระดานดำที่ชำรุดทรุดโทรม ห้องเรียนจะตอบสนองกับเวลา ฉายภาพสลับไปมาระหว่างอดีตกับอนาคต แต่ไม่ว่าภาพที่ฉายจะเป็นอดีตหรืออนาคต การออกจากห้องเรียนจะพาเรากลับมาสู่ความจริงอันน่ากลัว ศิลปะจัดวางนี้ทำให้เรานึกถึงโลกที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กำลังประสบกับความยากลำบากในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19


show more
Artwork

Related