Student Bodies (2019)

Ho Rui An is an artist and writer working in the intersections of contemporary art, cinema, performance and theory. Working primarily across the mediums of lecture, essay and film, he probes into the ways by which images are produced, circulate and disappear within contexts of globalism and governance. 

Considering the 1997 Asian financial crisis against the economic “miracle” that preceded it, Asia the Unmiraculous (2018–) is a lecture and video installation that seek to diffuse the aura of a “miraculous” Asia by examining the historical conditions that set the stage for one of the first large-scale crises of globalisation. A key inquiry is the ideological contestations that unfolded amidst the “miracle” during which the invisible hand of the market was pitted against the interventionist hand of the state. The project further extends to the renewed Asian futurisms of today where the state has reasserted itself as an engine of economic growth, especially amidst the ongoing recession that has resulted from the COVID-19 pandemic. The video installation features fourteen posters—in the style of real estate listings—that critically re-examine the Asian “miracle” and a wallpaper of an inverted photograph of the horizon captured from the Port of Piraeus, operated by the Chinese state-owned shipping company, COSCO.

Student Bodies (2019) approaches the troubled history of capitalist modernity and radical culture in East and Southeast Asia through the figure of the student body. The work considers the student body as both collective and singular, metaphor and flesh, standing in for the changing body politic of the region across the successive periods of “miraculous” development, crises and recoveries through to the present day. With each transformation of the student body, the film attends to the didactic / dialectic rhythms that shape up the student to become both the embodiment of the pedagogical system that produces it and its contradiction.

show more

โฮ รุย อัน เป็นศิลปินและนักเขียนที่ทำงานคาบเกี่ยวระหว่างศิลปะร่วมสมัย ภาพยนตร์ การแสดงกับทฤษฎี โดยผลงานของเขาออกมาในรูปแบบปาฐกถา บทความและภาพยนตร์เป็นหลัก เขาศึกษาเกี่ยวกับการผลิต เผยแพร่และหายไปของภาพในบริบทของโลกนิยมและการปกครอง

เมื่อพิจารณาถึงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี พ.ศ. 2540 โดยมีฉากหลังเป็น "ยุคเศรษฐกิจมหัศจรรย์" ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น Asia the Unmiraculous ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นศิลปะจัดวางปาฐกถาและฉายวิดีโอที่พยายามเผยแพร่กลิ่นอายแห่ง “ความมหัศจรรย์แห่งเอเชีย" โดยการตรวจสอบพิจารณาเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของหนึ่งในวิกฤตการณ์โลกาภิวัตน์ขนาดใหญ่ครั้งแรกๆ ของโลก เนื้อหาหลักๆ จะเกี่ยวกับการประชันอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นท่ามกลาง “ยุคเศรษฐกิจมหัศจรรย์” ในช่วงที่ “มือที่มองไม่เห็นของตลาด” ถูกจับชนกัน “มือที่เข้ามาแทรกแซงของรัฐ” โปรเจ็คนี้ยังขยายประเด็นไปถึงลัทธิอนาคตนิยมของเอเชียที่ได้เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐได้ยืนยันตัวเองอีกครั้งว่าเป็นกลไกหนึ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ศิลปะจัดวางฉายวิดีโอประกอบไปด้วยโปสเตอร์สไตล์รายการอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด 14 แผ่น ซึ่งจะตรวจสอบ “ความมหัศจรรย์แห่งเอเชีย” ใหม่อีกครั้ง และวอลล์เปเปอร์รูปถ่ายกลับหัวของเส้นขอบฟ้าที่ถ่ายจากท่าเรือไพรีอัสซึ่งดำเนินการโดยบริษัท COSCO บริษัทขนส่งของรัฐบาลจีน 

Student Bodies ในปี พ.ศ. 2562 มองประวัติศาสตร์อันแสนวุ่นวายของความเป็นสมัยใหม่แห่งทุนนิยมและวัฒนธรรมรุนแรงในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านร่างกายของนักศึกษา ผลงานนี้มองร่างกายของนักศึกษาทั้งโดยรวมและโดยแยก ทั้งความตรงและและความเปรียบ เป็นตัวแทนการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในช่วงเวลาการพัฒนา “อย่างมหัศจรรย์” ตลอดจนวิกฤตการณ์และการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องกันมาจวบจนถึงปัจจุบัน ในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนักเรียนแต่ละครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้จะให้ความสนใจกับจังหวะการสั่งสอนและโต้แย้งที่หล่อหลอมนักเรียนให้กลายเป็นทั้งตัวแทนระบบการสอนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและคู่ตรงข้ามของมัน

show more
also at
Bangkok Art and Culture Centre (BACC)

Related