Naiza Khan’s immersive, four-channel film montage Sticky Rice and Other Stories (2019), first shown at the 58th Biennale of Venice, was shot on Manora, a former British colonial naval base, by the bustling city of Karachi. The island has born witness to many different stories: those of the Imperial textile and cotton trades as well as of the more recent East-West oil trade and container routes. Over the past decade, this has been strongly challenged by new, overland initiatives such as China’s Belt and Road and the China-Pakistan Economic Corridor. Against this tense geo-political backdrop: craftsmen offer ornately decorated models of ships and boats for sale from a handcart. As dusk falls, we see them illuminated and pushed backwards and forwards along the waterfront, making them seem almost as if they were real. Their dim gaiety exudes a lingering sense of melancholy, cut short by shots of real boats briskly moving across the day-lit ocean. We hear a conversation about how crafts and industrial processes have been transformed by technology and about how trade has developed. But a vital question is left hanging: ‘what role can the crafts and creativity play in a global Megacity?’.
The second part of the work juxtaposes ideas and images of vision, surveillance and tourism alongside those of trade. Matloub Bhai, keeper of telescopes at the beach, tells us how he encases Soviet-era binoculars in metal stands so that they may be hired, for a small fee, to provide better views of the sea and coastline. As we see images and sounds of people enjoying themselves at the seaside, framed by the viewing machines pointing out to sea, the conversation turns towards the differences between conventional and digital lenses, and continues on to the optics of military drones that use lasers, remotely operated from another country against terrorists. Which is more accurate the artist asks, digital or optical technology? ‘Truth is only that which is seen with your own eyes’, the artisan replies.
Sticky Rice and Other Stories ในปี พ.ศ. 2562 ภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคตัดต่อมอนทาจแบบสี่ชาแนลออกมามีความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงกับโลกเสมือนจริงของ ไนซา คาห์น ที่ฉายครั้งแรกที่งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติเวนิส เบียนนาเล่ (Venice Biennale) ครั้งที่ 58 ถ่ายทำที่เกาะมานอรา อดีตฐานทัพเรืออาณานิคมจักรวรรดิบริติชข้างเมืองการาจีอันแสนคึกคัก เกาะแห่งนี้เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงเรื่องราวต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการค้าสิ่งทอและฝ้ายของจักรวรรดิบริติช ตลอดจนเส้นทางการค้าน้ำมันและขนส่งระหว่างตะวันออกกับตะวันตกล่าสุด ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกาะแห่งนี้ถูกท้าทายโดยโครงการริเริ่มใหม่ๆ ทางบก อย่างเช่นโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt and Road) และโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน - ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเมื่อพิจารณาฉากหลังทางภูมิศาสตร์การเมืองที่ตึงเครียดนี้ ช่างฝีมือจึงมักจะใช้รถลากจูงนำโมเดลเรือที่ตกแต่งอย่างวิจิตรมาเสนอขายบนบก เมื่อถึงเวลาพลบค่ำจึงเห็นเรือเหล่านั้นส่องสว่างขณะแล่นไปมาตามแนวริมน้ำ ทำให้ดูเหมือนราวกับว่าเรือเหล่านั้นเป็นของจริง ความรื่นเริงในความสลัวปลดปล่อยความรู้สึกเศร้าโศกไม่เสื่อมคลายที่ถูกตัดสั้นด้วยภาพของเรือจริงที่กำลังแล่นอย่างรวดเร็วข้ามมหาสมุทรที่มีแสงอาทิตย์สาดส่อง เราได้ยินบทสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่งานฝีมือและกระบวนการทางอุตสาหกรรมถูกการเปลี่ยนแปลงโดยการเข้ามาของเทคโนโลยีและการพัฒนาทางการค้า แต่คำถามสำคัญยังคงอยู่ นั่นคือ "งานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์สามารถมีบทบาทอย่างไรในมหานครระดับโลก"
ส่วนที่สองของผลงาน จัดวางความคิดและภาพเกี่ยวกับทัศนวิสัย การตรวจตราและการท่องเที่ยว เทียบกับความคิดและภาพเกี่ยวกับการค้า มัทลูบ ไบ ผู้ดูแลกล้องโทรทรรศน์ที่ชายหาด เล่าให้เราฟังว่า เขาหุ้มกล้องส่องทางไกลที่ผลิตในยุคโซเวียตเข้ากับฐานโลหะอย่างไรให้สามารถให้บริการมองชมวิวทะเลและชายฝั่ง ในขณะที่เราเห็นภาพและเสียงของผู้คนกำลังเพลิดเพลินกับกิจกรรมริมทะเลผ่านกล้องส่องทางไกลที่หันออกไปทางทะเล บทสนทนาก็เปลี่ยนไปสู่ความแตกต่างระหว่างเลนส์ทั่วไปและเลนส์ดิจิตอล และดำเนินต่อไปสู่เลนส์ของโดรนทหารที่ใช้เลเซอร์ควบคุมระยะไกลจากอีกประเทศในภารกิจต่อต้านผู้ก่อการร้าย ไนซาถามว่า “ระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลกับออปติคอล อันไหนมีความแม่นยำมากกว่ากัน” มัทลูบตอบกลับว่า “ความจริงเป็นเพียงสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาของคุณเองเท่านั้น”