งานวิจัย Escape Routes ของอารยาเกี่ยวข้องกับภารกิจที่จะอยู่กับตัวเองอย่างสงบสุขของเธอ การเผชิญหน้ากับความตายและชีวิตหลังความตายเป็นธีมที่ปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะและวรรณกรรมของเธอ ในขณะที่เขียน A Novel in Necessity’s Rhythm เธอหวนนึกย้อนถึงความทรงจำในอดีตที่ปรากฏในภาพอันขุ่นมัวของความตายในสถานการณ์ต่างๆ เรื่องราวของหนังสือจะเปลี่ยนไปตามการเดินทางของเธอไปจังหวัดจันทบุรี นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ เธอบรรยายฉากอุบัติเหตุบนท้องถนน การฆ่าตัวตาย การข่มขืน งานศพและความรุนแรงที่ปรากฏเป็นภาพที่เธอเห็นในหัว เธอเขียนเกี่ยวกับการฟังเพลงงานศพที่วัดและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝูงวิญญาณ เรื่องราวเหล่านี้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ผู้อ่านเริ่มตั้งคำถามว่า ตกลงแล้วผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณเร่ร่อนหรือไม่
เสียงอารยาอ่านข้อความที่ตัดตอนมาจากหนังสือเล่มนี้ได้ยินอย่างไม่ขาดสายตามทางเดินรอบเจดีย์ของวัดประยูร เสียงอันหลอนของเธอสามารถได้ยินในบริเวณใกล้กับภาพผู้ตายที่ติดเรียงรายบนช่องผนังที่บรรจุอัฐิของพวกเขา เสียงระฆังวัดและเสียงสวดมนต์ในพิธีเผาศพดังก้องกังวาน นับเป็นภาพน่าขนลุกเมื่อผู้ชมได้ยินเสียงสะท้อนของเธอค้นหาเส้นทางหลบหนี
ความมุ่งมั่นของอารยาที่จะควบคุมชะตาชีวิตของเธอได้นำไปสู่แนวคิดการุณยฆาตเชิงรุกซึ่งเป็นทั้งเรื่องสมมติและเรื่องจริง การแยกแยะตนเองของเธอทำให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเพิกเฉยและการขาดความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ของมนุษย์ เธอร้องขอการดูแลสัตว์และความรับผิดชอบของมนุษย์ผ่านความปรารถนาที่จะจบชีวิตลงด้วยการนอนหลับไปชั่วนิรันดร์ โปรเจ็คดูแลสุนัขของเธอนำเงินบริจาคมาดูแลสุนัขจรจัดและถูกทารุณที่เธอเลี้ยงไว้ในบ้าน พวกมันต้องการมีชีวิตอยู่ แต่เธอโหยหาทางออกของเธอ
Rasdjarmrearnsook’s research on Escape Routes is related to her quest to be at peace with herself. Facing death and afterlife have been a recurring theme in her art work and literature. In her writing in A Novel in Necessity’s Rhythm, the author reminisces flashbacks of past memory that appear in blurring images of the mortality in various circumstances. The story shifts along as the author travels to Chanthaburi, Nakhon Si Thammarat, Chiang Mai and Bangkok. She describes scenes of road accidents, suicides, rapes, funerals and violence that appear in her vision. She writes about listening to funeral songs at temples and attending the school of spirits. These stories become increasingly intense to the point that the readers begin to question whether the author is part of the wandering spirits.
Excerpts of the book is read by Rasdjarmrearnsook is heard continuously along the corridors of Wat Prayoon Temple. The haunting sound of the artist can be heard near rows of portraits of the dead with their ashes in small cabinets. In the distance, temple bells and chanting of crematory ceremonies resonate. An eerie spectacle as viewers hear echoes of her voice in search for escape routes.
Rasdjarmrearnsook’s determination to control the destiny of her life has led to the concept related to active euthanasia which is both fictitious and real. Her action of self-distinction raises awareness of human ignorance and lack of empathy for other living beings. Symbolically, by wishing to end her life through eternal sleep, she makes a plea towards care of animals and human responsibility. Her project on care for canine is about donation for stray and abused dogs that she keeps in her home. They want to live but she longs for her exit.