Peek!, 2020

Pusiri explained that "When we think of the word ‘peeking’, we usually think of looking through a keyhole which suggests a sense of wanting to know other people’s secrets (both friends and strangers)." and added that "Being nosey is an inborn human trait. Because we are social creatures, it is in our genes to want to know about the lives of others. People are always curious about something that is hidden, a kept secret, or something they want to see but cannot be seen. When the curiosity reaches a certain point, that's when we tend to start prying." This is the main idea behind Pusiri's latest project Peek! (2020) in which he sets up his photographic image in a box to let the viewers peek through the keyhole as to see only a fraction of the story and due to this incomplete information, one could end up misinterpreting everything altogether. This work is therefore a reflection of social media that can convey so many misleading information in today’s world as a result of being misinterpreted according to the viewer or voyeur's own imagination.

show more

ชฤตอธิบายไว้ว่า “เมื่อเรานึกถึงคำว่า ‘แอบมอง’ เรามักจะนึกถึงการมองผ่านรูกุญแจ ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกอยากรู้ความลับของคนอื่น ทั้งเพื่อนและคนแปลกหน้า” และเสริมอีกว่า "ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่นเป็นลักษณะที่มีมา แต่กำเนิดของมนุษย์ เนื่องจากเราเป็นสัตว์สังคม ความอยากรู้อยากเห็นจึงอยู่ในยีนของเรา เราจึงต้องการรู้เกี่ยวกับชีวิตของผู้อื่น คนมักจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่อย่างความลับที่ถูกเก็บเอาไว้ หรือสิ่งที่อยากเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อความอยากรู้อยากเห็นมากถึงจุดจุดหนึ่ง เราก็จะเริ่มสอดรู้สอดเห็น" นี่คือแนวคิดหลักเบื้องหลังโปรเจ็คล่าสุดของเขาอย่าง พีค! (Peek!) ในปี พ.ศ. 2563 โดยเขานำรูปถ่ายของเขาไปไว้ในกล่อง ให้ผู้ชมมองผ่านรูกุญแจและเห็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของเรื่องราว ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมตีความทุกอย่างผิดพลาดได้จากข้อมูลที่ไม่ครบสมบูรณ์นี้ งานนี้จึงเป็นภาพสะท้อนของโซเชียลมีเดียที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลจำนวนมากในโลกปัจจุบัน ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอันเป็นผลมาจากการตีความผิดไปตามจินตนาการของผู้ชมหรือนักถ้ำมองเอง 

show more
also at
Bangkok Art and Culture Centre (BACC)

Related