Lu Yang
b. 1984, Shanghai, China
Lives and works in Shanghai, China
Lu Yang is a Shanghai-based multimedia artist who creates fantastical, often morbid and shocking visions of death, sexuality (or a-sexuality), mental illness, and neurological constructs of both real lifeforms and deities. Deeply immersed in the subcultures of anime, video games, and sci-fi, Lu Yang’s output spans 3D-animated films, video game-like installations, holograms, neon, VR and even software manipulation, often with overt Japanese manga and anime references. Her works involve frequent collaborations with performers, designers, experimental composers, robot companies, and idol stars.
Lu Yang has been featured in major exhibitions at venues such as the UCCA, Centre Pompidou, MAXXI National Museum of XXI Arts. She has also participated in numerous Biennales such as: Shanghai Biennale, (2018 and 2012), Athens Biennale (2018), Liverpool Biennial (2016), Montreal International Digital Art Biennial (2016), 56th Venice Biennale, China Pavilion (2015), and Fukuoka Asian Art Triennale (2014).
ลู่ หยาง
เกิด พ.ศ. 2527, เซี่ยงไฮ้, จีน
อาศัยและทำงานอยู่ที่ เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ศิลปินสื่อผสมจากเมือง เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ที่มักสร้างโลกแฟนตาซี ซึ่งแฝงไปด้วยความน่ากลัว ภาพสุดช็อคแห่งความตาย ราคะ ความป่วยทางจิต และ โครงสร้างระดับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตไปถึงจนถึงระดับเทพในความเชื่อ ผลงานของ ลู่ หยาง นั้น ดำดิ่ง และ ดึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมย่อยจากญี่ปุ่น ทั้ง การ์ตูน เกม และ นิยายวิทยาศาสตร์ ออกมาอย่างเข้มข้น เธอสร้างงานออกมาอย่างหลากหลายทั้ง ภาพยนตร์ 3 มิติ ศิลปะจัดวางที่ดูราวกับเป็นเกม ภาพเสมือนโฮโลแกรม หลอดนีออน และ โลกเสมือนจริง (VR) หรือ แม้กระทั่งใช้การเขียนโปรแกรมเข้ามามีส่วนควบคุมผลงานศิลปะของเธอ และ แน่นอนว่า เพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดประกอบอย่างบ้าคลั่งมักจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในผลงานของเธอ ทั้ง นักแสดงละคร นักออกแบบ นักประพันธ์เพลงแนวทดลอง บริษัทหุ่นยนต์ ไปจนถึง ดารา ไอดอล ต่างเคยมาร่วมงานกับเธอแล้วทั้งสิ้น
ลู่ หยาง ได้ถูกรับเชิญให้ไปแสดงงานที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งในรูปแบบนิทรรศการเดี่ยว และ กลุ่ม อาทิ UCCA (ปักกิ่ง), Centre Pom- pidou (ปารีส), M woods museum (ปักกิ่ง), Spiral (โตเกียว), MAXXI, National Museum of XXI Arts (โรม), Sadie Coles (ลอนดอน), Fridericianum (คัสเซิล), Société (เบอร์ลิน), DFB Performance Gallery (ชิคาโก), Chronus Art Center (เซี่ยงไฮ้), Momentum (เบอร์ลิน), MOCA Cleveland USA (คลีฟแลนด์), and Tampa Museum of Art (แทมป้า) รวมถึงงาน เบียนนาเล่ ในหลายประเทศ อาทิ Shanghai Biennale (พ.ศ. 2555 และ 2561), Athens Biennale (พ.ศ. 2561), Liverpool Biennial (พ.ศ. 2559), Montreal International Digital Art Biennial (พ.ศ. 2559), 56th Venice Biennale China Pavilion (พ.ศ. 2558) และ Fukuoka Asian Art Triennale (พ.ศ. 2557)