Zhou Xiaohu’s films, animations and installations deconstruct the narrative conventions of cinema; hovering at the borders of truth, fiction and fantasy, they dramatize human desire, fear, greed and callousness. Memories of violence and mass demonstrations permeate his work.
His short split-screen film Conspiracy (2004) combines film with animation in surrealistic scenes of mass events drawn onto the naked body of a young woman while, on the other screen, an artist begins to draw an assassin who takes aim and shoots a politician. But the woman, on whose body the shot man is drawn, is killed as well. Her own image, projected onto her body, slowly floats into the crowd below; losing her parachute, she begins to fly, flapping her arms like a bird, while the woman, on whom she is drawn, also jerks back to life, beating her arms like an immortal goddess.
For Montage Structure (2010), Zhou uses single-frame Claymation to make a short, looped film noir that is often shown with tableaux of the clay models. Its subject is the planned assassination of two powerful men, but its repetitive structure is also concerned with the structure of cinematic language and its relation to reality.
The Garden of Earthly Delights (2016) extends the social and political preoccupations of Zhou’s earlier films into a more mythic form by using traditional life-sized marionettes. The characters are based on folkloric myth but are transformed here into secular free spirits as they wander through a real landscape that is alternatively bucolic and full of decaying industries. The historical text that illuminates their journey is adapted from the Zhuangzi, Chuang Tzu’s (c.369 – 286 BCE) philosophical allegory of consciousness, reality and dream.
Its title also refers to a triptych masterpiece by the Netherlandish artist Hieronymus Bosch (c.1450 – 1516) – a panorama of human weakness and folly at a time of pestilence. But the paradise we see here has few delights. It is a contemporary satirical parable about causes and effects: about the planned degradation of labour, production and nature, with people lost in a wasteland without purpose or soul.
ภาพยนตร์ แอนิเมชั่นและศิลปะจัดวางของ โจว เสียวหู่ รื้อสร้างรูปแบบการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ที่วนเวียนอยู่ตรงเส้นแบ่งระหว่างเรื่องจริง เรื่องแต่งกับแฟนตาซี ทำให้ความปรารถนา ความกลัว ความโลภและความอำมหิตของมนุษย์ดูเกินไปจากความเป็นจริง ความทรงจำเกี่ยวกับความรุนแรงและการประท้วงจำนวนมากแทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกอณูของผลงานของเขา
ผลงานภาพยนตร์สั้นจอคู่ของเสียวหู่ภายใต้ชื่อ Conspiracy ในปี พ.ศ. 2547 ผสมผสานภาพยนตร์เข้ากับแอนิเมชั่นในฉากที่มีความเหนือจริง ในจอหนึ่งฉายภาพเหตุการณ์ที่มีมวลชนเข้าร่วมที่ถูกวาดลงบนร่างเปลือยของหญิงสาวคนหนึ่ง ในขณะที่อีกจอหนึ่งฉายภาพเสียวหู่เริ่มวาดมือสังหารที่เล็งและลั่นไกสังหารนักการเมือง แต่หญิงสาวคนนั้นที่ร่างกายของเธอมีรูปวาดนักการเมืองที่ถูกยิงอยู่ก็ตายเช่นกัน ภาพของเธอเองที่ฉายลงบนร่างกายของเธอค่อยๆ ลอยเข้าไปในฝูงชนด้านล่าง เธอเสียร่มชูชีพไปจึงเริ่มกระพือแขนเหมือนนก พยายามที่จะบิน ในขณะที่หญิงสาวที่ร่างกายมีรูปวาดเธออยู่ก็กระตุก กลับมามีชีวิตและตีแขนตัวเองราวกับเป็นเทพธิดาที่เป็นอมตะ
สำหรับผลงาน Montage Structure ในปี พ.ศ. 2553 เสียวหู่ใช้เคลย์เมชั่นแบบเฟรมเดียวในการสร้างฟิล์มนัวร์แบบวนลูปสั้นๆ ซึ่งมักจะจัดแสดงร่วมกับภาพแทบโลสของโมเดลดินเหนียว ฟิล์มนัวร์ดังกล่าวเกี่ยวกับการวางแผนลอบสังหารชายผู้มีอำนาจสองคน แต่โครงสร้างซ้ำซากของฟิล์มนัวร์ยังเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของภาษาภาพยนตร์และความสัมพันธ์กับความเป็นจริง
ผลงาน The Garden of Earthly Delights ในปี พ.ศ. 2559 ต่อยอดความสนใจที่มีต่อสังคมและการเมืองของภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้าของเสียวหู่ ให้ออกมาดูมีความเป็นตำนานมากขึ้น โดยใช้หุ่นกระบอกแบบดั้งเดิมขนาดเท่าคนจริง ตัวละครสร้างโดยอ้างอิงจากตำนานพื้นบ้านแต่เปลี่ยนมาเป็นวิญญาณอิสระในขณะที่พวกเขาออกเดินทางไปตามภูมิประเทศจริง ซึ่งมีความเป็นชนบทและเต็มไปด้วยอุตสาหกรรมที่เสื่อมโทรม ข้อความทางประวัติศาสตร์ที่ให้แสงสว่างในการเดินทางของพวกเขาดัดแปลงมาจาก จ้วงจื่อ ซึ่งเป็นชาดกเชิงปรัชญาเกี่ยวกับจิตสำนึก ความจริงและความฝันของจ้วงจื่อ (ประมาณปี 369 - 286 ก่อนคริสตศักราช)
ชื่อของผลงานดังกล่าวยังหมายถึงผลงานบานพับสามทบชิ้นเอกของเฮียโรนิมัส บอช ศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์ ที่มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1993 - 2059 ซึ่งเป็นภาพพาโนรามาเกี่ยวกับความอ่อนแอและโง่เขลาของมนุษย์ในช่วงเวลาที่มีโรคระบาด และสวรรค์ที่เราเห็นในผลงาน The Garden of Earthly Delights กลับมีความสุขอยู่เพียงน้อยนิด ผลงานดังกล่าวเป็นนิทานสุภาษิตเสียดสีร่วมสมัยเกี่ยวกับเหตุและผล ซึ่งก็คือความเสื่อมโทรมของแรงงาน การผลิตและธรรมชาติที่ถูกวางแผนเอาไว้ โดยผู้คนหลงอยู่ในดินแดนรกร้างโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือจิตวิญญาณ