Rosas – Opera in 3 Acts, 2012

The work that Marinella Senatore presents since 2006 is grounded in a desire of profaning the devices of spectacle, restoring at the free use what has been captured, what has been separated from it. Each of the individuals involved in each film project brings his or her personal approach, mute tactics, anonymous activity, not interpretable, not symbolizable. But above all a personal way of using what is imposed by and drawn from mainstream production. In this sense, talking about participation in reference to Senatore’s work is limiting. While Rosas (2012) that will be shown at Bangkok Art Biennale is a three-act opera for the screen and involves a number of participants that only a blockbuster could employ, these subjects do not play a secondary role (as normally would be the case but rather, enter actively into the process of creation and production as screenwriters, costumers, actors, singers, sound technicians, camera operators, set designers, choreographers, managers, fundraisers. Essentially, with a choral, plural agency of decision making But restoring things to free or potential use or reclaiming what has been taken away from us also means, above all, showing the purely contingent nature of how functions are assigned by the system of spectacle, its categories of visibility and invisibility, the distribution of bodies and parts. In fact, in both spectacle and society, we already know our roles: the viewers know they are viewers and the actors know they are actors. Who is to perform and who is to watch the performance is decided beforehand. The method that Senatore has developed to upend the hierarchy of roles and restrictions is a specific teaching method that we find in her ongoing project “The School of Narrative Dance”, a sort of appropriate counter-device she founded in 2013. Since then public parades, urban processions, travelling the streets and lanes of city centres and activated by “The School of Narrative Dance”, are springing up on every latitude of the Planet. 

show more

ผลงานที่ มารีเนลลา เซนาโตเร นำเสนอมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ล้วนมาจากความปรารถนาที่จะท้าทายกรอบวิธีการแสดง ฟื้นฟูสิ่งที่ถูกกีดกันออกจากการแสดงให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างอิสระตามต้องการ โดยแต่ละบุคคลที่เข้าร่วมงานฉายภาพยนตร์แต่ละงานจะนำแนวทางและวิธีการส่วนตัวในการใช้สิ่งที่กำหนดโดยหรือนำมาจากการผลิตภาพยนตร์กระแสหลัก มาใช้ดำเนินกิจกรรมที่ไม่มีความโดดเด่น ไม่สามารถตีความหมายได้ ไม่เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบและไม่ใช้เสียง ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการพูดถึงการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับงานของเซนาโตเรอยู่ในวงจำกัด แม้ว่า Rosas เวอร์ชั่นปี พ.ศ. 2555 ที่จะจัดแสดงในงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ จะเป็นละครโอเปร่าสามองก์สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์และมีทีมงานจำนวนมากที่มีเพียงภาพยนตร์ระดับบล็อคบัสเตอร์เท่านั้นที่สามารถจ้างได้ ทีมงานเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาแสดงเป็นตัวละครรอง หากแต่เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสร้างสรรค์และการผลิต ไม่ว่าจะในฐานะนักเขียนบท นักแสดง นักร้อง ช่างแต่งตัว ผู้บันทึกเสียง ตากล้อง นักออกแบบฉาก นักออกแบบท่าเต้น ผู้จัดการ หรือผู้ระดมทุน ซึ่งต่างจากละครโอเปร่าปกติ 

โดยพื้นฐานแล้ว หากมีคณะร้องประสานเสียงและหน่วยงานตัดสินใจหลายหน่วยงาน การฟื้นฟูสิ่งต่างๆ ที่ถูกกีดกันออกจากการแสดงให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างอิสระตามต้องการ หรือใช้ในงานที่มีความเป็นไปได้จริง ตลอดจนการทวงคืนสิ่งที่ถูกพรากไปจากเรา  เหนือสิ่งอื่นใดยังหมายถึงการแสดงให้เห็นลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างมีเงื่อนไขอย่างแท้จริงของการกำหนดหน้าที่ต่างๆ โดยตัวระบบของการแสดง ตลอดจนการกำหนดประเภทหน้าที่ที่สามารถมองเห็นได้และที่ไม่สามารถมองเห็นได้ และการกระจายองคาพยพต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทั้งในการแสดงและสังคมจริง เราล้วนต่างรู้บทบาทของตนเองอยู่แล้ว นักแสดงรู้ว่าพวกเขาเป็นนักแสดง ส่วนผู้ชมรู้ว่าพวกเขาเป็นผู้ชม ใครเป็นผู้แสดง ใครเป็นผู้ชม ล้วนถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าหมดแล้ว วิธีการที่เซนาโตเรได้พัฒนาขึ้นเพื่อโค่นล้มลำดับชั้นของบทบาทและข้อจำกัดต่างๆ คือวิธีการสอนเฉพาะที่เราพบในโครงการ The School of Narrative Dance ของเขา ซึ่งเป็นเหมือนอุปกรณ์ตอบโต้ที่เหมาะสมที่เธอก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556 นับแต่นั้นมาก็มีขบวนพาเหรดและขบวนแห่โดยโครงการเธอ ที่ออกเดินไปตามท้องถนนและตรอกซอกซอยใจกลางเมืองผุดขึ้นในทุกหัวระแหงของโลก


show more
also at
Museum Siam

Related