Floating Floor (Raft)

Since 1993 Massimo Bartolini has been working with the construction of spatial and temporal environments which have developed into various configurations, though they have maintained their character of perceptive devices. Each environment (such as a room of decompression, a spaceship or a pool) alters the normal conditions of experience that anchor our rational and behavioural certainties. In these rooms, the spatial conditions are influenced by walking paths, light sources, diffusion of sounds and perfumes that lead us to a multi-sensorial perception. Being structured as indoor spaces, these rooms often carefully define thresholds (doors, windows, window ledges) which are delimited by the external world. There is a need to represent one’s own habitat only when one cannot unconditionally adhere to an environment – when, that is, there is a need for a new adaptation to the context. For this reason, Bartolini’s working model finds its field of action in a concentration on the ground or in the floor structures, in the ‘floorness’ of minimalist matrix. The floor becomes a sort of topos around which all his work revolves because it is a function of being situated, being somewhere, of maintaining its equilibrium. For Bangkok Art Biennale, the work “Floating Floor (Raft)” reflects on migration, how a raft can become home and how this multitude of migrants is like a flock of birds, flying in search of a better place to live.

show more

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา มัสซิโม บาร์โตลีนี ได้ทำงานเกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่และเวลาทั้งในร่มและกลางแจ้ง ซึ่งได้พัฒนาไปสู่รูปแบบสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะของวิธีการรับรู้ของสภาพแวดล้อมเหล่านั้นไว้ได้ โดยสภาพแวดล้อมแต่ละรูปแบบ อย่างเช่น ห้องลดแรงอัดดัน ยานอวกาศ สระน้ำ เป็นต้น จะเปลี่ยนเงื่อนไขปกติของประสบการณ์ที่โดยปกติจะตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นเชิงเหตุผลและพฤติกรรมของเรา ในห้องเหล่านี้ เงื่อนไขเชิงพื้นที่จะได้รับอิทธิพลจากเส้นทางเดิน แหล่งกำเนิดแสงสว่าง ตลอดจนการกระจายเสียงและกลิ่นอยู่เนืองๆ ทำให้เกิดการรับรู้หลากหลายประสาทสัมผัส ห้องเหล่านี้สร้างขึ้นในพื้นที่ในร่มและกำหนดจุดรอยต่อกับโลกภายนอกอย่างประตู หน้าต่างและขอบหน้าต่าง อย่างระมัดระวัง 

เขามองว่าการแสดงถิ่นที่อยู่ของคนคนหนึ่งนั้นจำเป็นก็ต่อเมื่อคนคนนั้นไม่สามารถยึดโยงตนเองกับสภาพแวดล้อมได้อย่างไม่มีเงื่อนไข หรือก็คือเมื่อคนคนนั้นจำเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทใหม่ ด้วยเหตุนี้แบบจำลองการทำงานของเขาจึงทำงานได้อย่างเต็มที่บนพื้น ในโครงสร้างพื้น หรือใน “ความเป็นพื้น” ของสภาพแวดล้อมที่เรียบง่าย “พื้น” ได้กลายเป็นเหมือนธีมของงานทั้งหมดของเขา เพราะมันทำหน้าที่ตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งและรักษาสมดุลของมันเอง สำหรับงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มัสซิโมได้สรรค์สร้างผลงาน Floating Floor (Raft) เพื่อสะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐาน ให้เห็นว่าแพสามารถกลายเป็นบ้านได้อย่างไร และผู้อพยพจำนวนมากนี้เหมือนฝูงนกบินไปหาที่อยู่ที่ดีกว่าอย่างไร


show more
also at
BAB Box @ONE BANGKOK

Related