The Metamorphosis, 2020

Rungruang Sittirerk’s works are comprising work and labor. His parents were migrant workers and he grew up away from them, so he witnessed firsthand the impact of capitalism on his family. Sittirerk is interested in many media, and his method is a form of research. It involves interviews, data collection, selection, and analysis, then interpretation and synthesis into romantic works of art.

For BAB 2020, Sittirerk presents a video capturing a group of workers on a takraw court in a joyful moment of relaxation with a voiceover reading texts from The Metamorphosis by Franz Kafka. Another exhibition room is filled with soil from various parts of Bangkok, from construction sites and public parks, dirt from areas beneath expressways formed into the shape of trash, like plastic bottles tossed all over Bangkok. There are a total of 1997 pieces, corresponding to the year of the Tom Yum Kung economic crisis in Thailand. The glass wall of the exhibition room creates a dialogue by opening to a view of the Klongtoey community. Sittirerk composes his memory of this place and understanding of labor in the context of urban Bangkok: the transformation of a labor-community in his imagination, the transformation of materials like dirt by heat into new forms that reveal a level of neglect, and the consequences of the economic failure in a grand scale that sent turbulence across the country. 

show more

ผลงานของรุ่งเรือง สิทธิฤกษ์ เกี่ยวข้องกับอาชีพ และผู้คนที่ใช้แรงงาน จากประสบการณ์ตรงของตัวเองที่พ่อแม่​เคยเป็นแรงงานที่โยกย้ายถิ่นฐาน​ ตัวของรุ่งเรืองก็ต้องใช้ชีวิตที่ห่างจากพ่อแม่​ ทำให้เขามองเห็นผลกระทบของครอบครัวที่เกิดจากระบบทุนนิยม​ รุ่งเรืองทำงานหลายสื่อ​ ทั้งวิดีโอ​ ตลอดจนการสร้างหรือประกอบวัตถุขึ้นมาใหม่​ให้สอดคล้องกับเรื่องราวของผู้คนที่เขาเลือกมาเป็นโจทย์ในการสร้างงาน​ ภายใต้วิธีการทำงานที่คล้ายกับการวิจัย​ ผ่านการสัมภาษณ์​ เก็บข้อมูล​ วิเคราะห์และคัดสรร​ จากนั้นจึงนำมาย่อยใหม่​ ตีความ​และปรุงแต่งให้เป็นงานศิลปะที่โน้มเอียงไปในทางโรแมนติ​ก

สำหรับงาน​ BAB 2020​ รุ่งเรืองนำเรื่องราวจากหลากหลายบริบทของความเป็นเมืองและชนชั้นแรงงานมาเชื่อมโยงร้อยเรียง​ให้เกิดภาพใหญ่​ ผลงานวิดีโอในห้องหนึ่งจะบันทึกช่วงเวลาพักผ่อนอย่างมีความสุขของแรงงานกลุ่มหนึ่งในสนามตระกร้อ​ คลอไปกับเสียงบรรยายที่นำมาจากบางส่วนของนิยาย​  The Metamorphosis ของ​ Franz Kafka ส่วนอีกห้องหนึ่งจะเป็นดินที่ถูกนำมาจากจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ​ เช่นตามไซท์งานก่อสร้าง​ สวนสาธารณะ​ คราบฝุ่นตามใต้ทางด่วนมาหล่อหลอมให้เป็นรูปทรงของขยะ​ที่ถูกทิ้ง เช่นขวดน้ำพลาสติกซึ่งนำมาจากสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่นกัน​ จากนั้นจึงนำมาเผา​ จำนวนทั้งสิ้น​ 1997 ชิ้น​ ตามปี​ ค.ศ. ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในไทย​ ในขณะเดียวกัน​ ผนังกระจกจากห้องแสดงงานของรุ่งเรืองก็สร้างบทสนทนากับมุมที่มองลงไปเห็นชุมชนคลองเตย​ เพราะชุมชนนี้​ พ่อแม่ของเขาเคยใช้เป็นแหล่งซื้อของเพื่อการดำรงชีพเมื่อสมัยที่ยังเคยเป็นแรงงานที่ทำงานอยู่บนถนนสุขุมวิท​ รุ่งเรืองเรียงร้อยความทรงจำในอดีตของตัวเองกับสถานที่​ ไปสู่การมองแรงงานในบริบทของเมือง​กรุงเทพฯ การกลายร่างของชุมชนแรงงานในเชิงจินตนาการ​ การเปลี่ยนถ่ายวัตถุอย่างดินด้วยความร้อนไปสู่รูปลักษณ์ใหม่ซึ่งยังคงแสดงสิ่งละอันพันละน้อยที่ถูกทอดทิ้ง​ รวมไปถึงผลพวงความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาคที่สร้างความปั่นป่่วนทั้งประเทศ​

show more
also at
The PARQ

Related