Mumbai-based Reena Saini Kallat’s memories of her father’s stories of growing up in Lahore before the Indian Partition in 1947 deeply affected her, as did her extended family’s need to flee and leave everything when ‘more than ten million Hindus, Muslims and Sikhs scrambled to get to their preferred side of newly formed borders based on religious lines.’
Her work (that incorporates sculpture, drawing, weaving, photography and sound) is a response both to this and to subsequent sectarian unrest and violence. Woven Chronicle, a new version of which she has made for Bangkok, takes the form of a global cartographic wall drawing, woven out of electric and barbed wire. It is a poetic network of auditory and human conduits set against a visual matrix of national obstacles, yet its lines, colours and densities trace the movements of travellers, migrants, labour and trade across borders. It is also a wall of sound with bleeps of telecom traffic, the screech of high-voltage currents, the buzz of drones, the honking of ship’s horns and factory sirens, intermingled with the songs of migratory birds. For her, this work reflects ‘the rise of narrow nationalism amidst the many conversations across borders through technology. Today, even as we tighten national borders amidst fears of the virus travelling through our bodies, we increasingly realise our interdependence. Everything which affects some of us, almost immediately affects us all.’.
For Bangkok, she will be weaving this work using locally sourced wires, cables, motifs and sounds that take into account local viewpoints and migratory patterns.
ความทรงจำเกี่ยวกับพ่อที่เติบโตในเมืองลาฮอร์ก่อนการขีดเส้นแบ่งอินเดียในปี พ.ศ. 2490 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ รีนา ไซนี กัลลัต ศิลปินที่อาศัยและทำงานในเมืองมุมไบ เช่นเดียวกับความต้องการของครอบครัวเธอที่จะหลบหนีและทิ้งทุกสิ่งไว้ข้าง
Woven Chronicle ทำซ้ำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 และเวอร์ชั่นขนาดใหญ่ของผลงานจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum of Modern Art) ในมหานครนิวยอร์กในปี พ.ศ. 2559. หลังเมื่อ “ชาวฮินดู มุสลิมและซิกข์มากกว่าสิบล้านคน ต้องดิ้นรนข้ามพรมแดนที่เพิ่งขีดขึ้นใหม่โดยเอาศาสนาเป็นที่ตั้ง ไปยังฝั่งประเทศที่ต้องการ”
ผลงานของรีนาที่ผสมผสานประติมากรรม การวาดภาพ การทอผ้า การถ่ายภาพและเสียงเข้าไว้ด้วยกัน เป็นการตอบสนองทั้งต่อการขีดเส้นแบ่งอินเดียและต่อความไม่สงบและความรุนแรงที่ตามมาจากการแบ่งแยกทางศาสนา Woven Chronicle ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหม่สำหรับจัดแสดงในงานบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2020 โดยเฉพาะ สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบภาพวาดแผนที่โลกบนผนังถักทอจากลวดไฟฟ้าและลวดหนาม มีเครือข่ายท่อร้อยสายเสียงที่เป็นตัวแทนกระแสการเคลื่อนที่ของมนุษย์ โดยเส้น สีและความหนาแน่นจะเปลี่ยนตามการเดินทางของนักเดินทาง ผู้อพยพ แรงงานและการค้าข้ามพรมแดน และมีฉากหลังเป็นอุปสรรคระดับชาติ นอกจากนี้ยังส่งเสียงต่างๆ อย่างเช่นเสียงการจราจรทางโทรคมนาคม เสียงกระแสไฟฟ้าแรงสูง เสียงโดรนบิน เสียงบีบแตรเรือ และเสียงไซเรนโรงงาน ผสมผสานกับเสียงเพลงของนกอพยพ สำหรับเธอแล้ว ผลงานชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึง “การเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมคับแคบท่ามกลางกระแสบทสนทนาข้ามพรมแดนผ่านเทคโนโลยี ทุกวันนี้แม้กระทั่งในขณะที่เรากำลังกระชับพรมแดนระหว่างประเทศท่ามกลางความกลัวการรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เราก็ตระหนักถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น “ทุกสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อเราบางคน ล้วนส่งผลกระทบต่อเราทุกคนแทบจะในทันที”
สำหรับงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 เธอจะถักทอผลงานชิ้นนี้ โดยใช้สายไฟ สายเคเบิล ลวดลายและเสียงที่หาได้ในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงมุมมองและรูปแบบการอพยพในท้องถิ่น