Makhacheva’s work always originates from a story told or an experience shared and expands out into wider collections of narratives and disciplines. Often humorous, her works attempt to test the resilience of images, objects and bodies in today’s world. In Tightrope, by staging this risky operation, Makhacheva creates a vision of subjective institutional history of art in 61 objects, questioning the mechanisms of functioning of history of art under the threat of depths of amnesia. The way how artworks are moved above the void evokes the fragile balance of post-soviet subjectivity reinventing itself and looking for an equilibrium between the traditional past and the national, local and contemporary culture. Ultimately the precarious balance of the tightrope embodies the existential experience of an artist always balancing on the verge of appreciation and oblivion.
ผลงานของตาอุสมีจุดเริ่มต้นจากเรื่องราวที่ได้รับการบอกเล่าหรือไม่ก็ประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมา ก่อนขยายออกเป็นชุดเรื่องเล่าและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ผลงานของเธอซึ่งบ่อยครั้งเป็นเรื่องขำขันพยายามทดสอบความยืดหยุ่น (resilience) ของรูปภาพ วัตถุ และร่างกายในโลกปัจจุบัน ในผลงานชื่อ Tightrope ตาอุสสร้างให้เห็นภาพของประวัติศาสตร์ศิลปะแนวอัตวิสัยเชิงสถาบันของวัตถุ 61 ชิ้น โดยอาศัยการปฏิบัติการที่สุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึงกลไกการทำงานของประวัติศาสตร์ศิลปะภายใต้การคุกคามจากภาวะสูญเสียความทรงจำขั้นเลวร้าย วิธีการในการทำให้ผลงานศิลปะถูกเคลื่อนย้ายอยู่เหนือความว่างเปล่าก่อให้เกิดความสมดุลอันเปราะบางของอัตวิสัยหลังยุคโซเวียตที่สร้างตัวตนขึ้นใหม่ และมองหาดุลยภาพระหว่างอดีตดั้งเดิมกับวัฒนธรรมของชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมร่วมสมัย ถึงที่สุดแล้ว การทรงตัวที่เสี่ยงอันตรายบนเส้นเชือกแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การดำรงอยู่ของศิลปินคนหนึ่งที่มักหาสมดุลในจุดที่ตนจะได้รับความชื่นชมและถูกลืม